เป้าหมายรายสัปดาห์: นักเรียนเข้าใจและสามารถเลือกรับประทานอาหารที่ปลอดภัยให้กับตนเองและผู้อื่นได้
สัปดาห์
|
Input
|
Process (PBL)
|
Output
|
Outcome
|
5
9-13 ก.พ. 2558
|
โจทย์ สารปนเปื้อนในอาหาร
- สานกันเชื้อรา
- สารบอแร็กช์
- สารฟอกขาว
- สารเร่งเนื้อแดง
คำถาม
- เราจะรู้เบื้องต้นได้อย่างไรว่าอาหารที่เรารับประทานจะไม่มีสารปนเปื้อน
เครื่องมือคิด
- Brainstorms พูดคุยสนทนาวิเคราะห์เกี่ยวกับชาร์ตความรู้สารปนเปื้อนในอาหาร
- Rund Robin แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหาร
- Show and Share นำเสนอชาร์ตความรู้สารปนเปื้อนในอาหาร
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
- ครู
- นักเรียน
สื่อ/อุปกรณ์
- ดูคลิปวีดีโอสารฟอกขาวในถั่วงอก
- ดูคลิปวีดีโอความลับของผลไม้
สารปนเปื้อนในอาหารสาร
- สารกันเชื้อรา
- สารบอแร็กช์
- สารฟอกขาว
- สารเร่งเนื้อแดง
- บรรยากาศในห้องเรียน
|
จันทร์ 2 ชั่วโมง
ชง:
- ครูทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมา
-
ครูเปิดคลิปวีดีโอสารฟอกขาวในถั่วงอก
ให้นักเรียนดูหลังจากที่ดูเสร็จคุณครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
“นักเรียนเห็นและได้เรียนรู้อะไรบ้าง รู้สึกอย่างไร
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดต่อ “เราจะรู้เบื้องต้นได้อย่างไรว่าอาหารที่เรารับประทานจะไม่มีสารปนเปื้อน”
เชื่อม:
- นักเรียนแบ่งกลุ่ม 4 กลุ่มเพื่อศึกษาค้นคว้าข้อมูลและทำการทดสอบสารปนเปื้อนในอาหารดังนี้
- ทดสอบสารกันเชื้อรา
- ทดสอบสารปนเปื้อนในอาหารหมักดอง
-
ทดสอบสารบอแร็กช์ในอาหารโดยวิธีการใช้ชุดสารเคมีตรวจสอบ
-
ครูและนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ผลการทดลอง
ใช้:
-นักเรียนแต่ละคนสรุปผลการทดลอง
-
นักเรียนแต่ละคนสรุปผลการทดลองในรูปแบบที่น่าสนใจ (ชาร์ต ,ภาพวาด ,นิทานช่อง)
อังคาร 2 ชั่วโมง
ชง:
-
ครูเปิดคลิปวีดีโอความลับของผลไม้ให้นักเรียนดูหลังจากที่ดูเสร็จคุณครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
“นักเรียนเห็นและได้เรียนรู้อะไรบ้าง รู้สึกอย่างไร
เชื่อม:
- นักเรียนแบ่งกลุ่ม 4
กลุ่มเพื่อทำการทดลองทำฝรั่งแช่บ๋วยเพื่อเปรียบเทียบกับในท้องตลาด
-นักเรียนแต่ละกลุ่มทดสอบสารเคลือบผลไม้โดยวิธีการนำผลไม้จากตลาดมาล้างกับผลไม้ที่ไม่ล้างมาวางไว้ในห้องแล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลง
-
ครูและนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ผลการทดลอง
ใช้:
- ทำฝรั่งแช่บ๋วย
- ทำมะขามดอง
ศุกร์ 2 ชั่วโมง
ชง:
ครูทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมา
เชื่อม:
-
นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอความเข้าในเกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหารให้ครูและเพื่อนๆรับฟัง
-
ครูและนักเรียนสนทนาอภิปรายแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหาร ใช้:
-
นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอชิ้นงานเกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหารให้ครูและเพื่อนรับฟัง
- ก่อนการสรุปความรู้รายสัปดาห์
ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด เช่น
1.นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้และเรียนรู้อย่างไร
2.ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้มีอะไรบ้าง
3.นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
4.นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
5.นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
6.นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์ต่อไป
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ตามเครื่องมือที่ต้องการ ( Mind Mapping, เขียนบรรยาย,นิทาน,การ์ตูนช่องฯลฯ)
|
ภาระงาน
- ครูและนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ผลการทดลอง
- ครูและนักเรียนพูดคุยทบทวนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้
ชิ้นงาน
- ชาร์ตความรู้สารปนเปื้อนในอาหาร
- สรุปสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูคลิปวีดีโอ
- ทำฝรั่งแช่บ๋วย
- ทำมะขามดอง
|
ความรู้
-
เข้าใจและสามารถเลือกรับประทานอาหารที่ปลอดภัยให้กับตนเองและผู้อื่นได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
-
มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงานได้
-
ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทำงาน
-
สามารถสร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
ทักษะการแก้ปัญหา
- มีวิธีการในการค้นคว้าข้อมูลให้ตอบโจทย์กับสิ่งที่ต้องการศึกษาได้
ทักษะการจัดลำดับข้อมูล
- มีการเก็บข้อมูลด้วยวิธีที่หลากหลาย - สามรถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะการสื่อสาร
- สามารถนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านกิจกรรมที่หลากหลายในรูปแบบต่างๆ
ทักษะการคิด
- คิดวางแผนการทำงานอย่างเป็นมีขั้นตอน - มีความสนในและสามารถวางแผนการเรียนรู้ได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยการยอมรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายและแตกต่าง ของเพื่อนๆ
คุณลักษณะ:
- เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
- มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อครอบครัว ชุมชน
และสังคม
-
รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
-
เคารพตนเอง และผู้อื่น
-
มีเป้าหมายที่ดีงามต่อตนเอง
|
ในสัปดาห์นี้พี่ป3 เรียนเรียนรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหาร ในชัวโมงแรกครูเปิดคลิปวีดีโอเกี่ยวกับสารฟอกขาวในถั่วงอกให้นักเรียนดูหลังจากที่ดูเสร็จคุณครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเห็นและได้เรียนรู้อะไรบ้าง รู้สึกอย่างไร” พี่บาส:ผมเคยเห็นถั่วงอกที่น้องป2 ปลูกมันมีสีเขียวและลำต้นไม่อวบเหมือนที่เราซื้อกินในตลาดเลยแสดงว่าเขาใส่สารเคมีลงไปทำให้ถั่วงอกขาวและต้นใหญ่ หลังจากนั้นครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดต่อ “เราจะรู้เบื้องต้นได้อย่างไรว่าอาหารที่เรารับประทานจะไม่มีสารปนเปื้อน” นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 7 กลุ่ม เพื่อศึกษาค้นคว้าสารปนเปื้อนในอาหารหลังจากนักเรียนแต่ละคนนำตัวอย่างอาหารมาตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารโดยวิธีการใช้ชุดทดสอบสารปนเปื้อนในอาหารหลังจากที่ทำการตรวจสอบเสร็จครูและนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ผลการทดลอง พี่ป3: อาหารที่เรานำมาตรวจสอบไม่พบสารปนเปื้อนในอาหารเลยค่ะ/ครับ ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดต่อ “ถ้าไม่มีชุดตรวจสอบสารเคมีนักเรียนจะมีวิธีการเลือกซื้ออย่างไรให้ปลอดภัยกับตนเองและผู้อื่น” พี่น้ำอ้อย:อย่างเช่นผักเราก็ต้องเลือกผักที่มีรอยกัดของแมลงค่ะเพราะถ้าเขาใช้สารเคมีผักก็จะสวยและไม่มีแมลงมากัดกินผักค่ะ พี่หอม:อาหารทะเลเลือกจากการดมด้วยกลิ่นถ้ามีกลิ่นเหม็นก็ไม่ควรซื้อค่ะ พี่มิ้นท์:ถ้าเราไปซื้อผลไม้มากินเราควรเอามาล้างน้ำให้สะอาดก่อนกินค่ะ พี่แป้ง:ถ้าเรากินสารเคมีเข้าไปเยอะๆก็จะสะสมอยู่ในร่างกายทำให้เราป่วยง่ายค่ะ หลังจากนั้นครูเปิดคลิปวีดีโอความลับของผลไม้ให้นักเรียนดูหลังจากที่ดูเสร็จคุณครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเห็นและได้เรียนรู้อะไรบ้าง รู้สึกอย่างไร” น้ำอ้อย:กล้วยที่ใช้สารเคมีเร่งสุกจะไม่อร่อยค่ะและก่อนที่เราจะกินผลไม้เราควรล้างให้สะอาดก่อนกินค่ะ หลังจากนั้นครูให้พี่ป3 แต่ละกลุ่มนำเสนอสารปนเปื้อนในอาหารในรูปแบบที่น่าสนใจหลังจากนำเสนอเสร็จครูและนักเรียนนั่งล้อมวงเป็นวงกลมเพื่อทบทวนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยกันในสัปดาห์นี้นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ตอบลบ