เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา2/2557 Topic:"ผจญภัยไปกับการทดลองอาหาร"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
เข้าใจและเห็นความสำศัญของอาหาร อธิบายเกี่ยวกับประโยชน์และโทษจากการรับประทานอาหารรวมทั้งการเลือกบริโภคอย่างเหมาะสมตามความจำเป็นของร่างกาย

week3


เป้าหมายรายสัปดาห์นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายส่วนประกอบและคุณสมบัติของน้ำอัดลม(การกัดกร่อน  ก๊าซ  การตกตะกอน)
สัปดาห์
Input
Process
Output
Outcome
3
27-31 ..2558
โจทย์:  คุณสมบัติของน้ำอัดลม(การกัดกร่อน  ก๊าซ  การตกตะกอน )
คำถาม
นักเรียนคิดว่าในน้ำอัดลมมีส่วนประกอบอะไรบ้าง
- เราจะทดสอบคุณสมบัติของน้ำอัดลมได้อย่างไร
เครื่องมือคิด:
- Brainstorms ระดมความคิดร่วมกันเกี่ยวกับการทดลองน้ำอัดลม
- Round Robin แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับคุณสมบัติของน้ำอัดลม
- Show and Share นำเสนอชิ้นงานนิทาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้:
- ครู
- นักเรียน
สื่อ/อุปกรณ์
- น้ำอัดลม  น้ำชา  นม  น้ำหวานต่างๆ
- เนื้อไก่  หมู  ปลา
- ตะปูสนิม
บรรยากาศในห้องเรียน
วันจันทร์(2 ชั่วโมง)
ชง
- ครูทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมา
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าในน้ำอัดลมมีส่วนประกอบอะไรบ้าง   เราจะทดสอบคุณสมบัติของน้ำอัดลมได้อย่างไร” นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
เชื่อม
- นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับส่วน
ประกอบในน้ำอัดลม
- นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มเพื่อทดสอบน้ำอัดลมดังนี้
- การทดสอบก๊าซในน้ำอัดลมโดยวิธีโดยวิธีการนำเนื้อไก่  หมู  ปลา มาแช่ในน้ำอัดลม
- การทดลองการระเหยของน้ำอัดลมโดยวิธีการต้ม(น้ำโค๊ก  น้ำชา  นม  น้ำหวานต่างๆ)
- การทดสอบการตกตะกอนของน้ำอัดลมโดยวิธีการเติมนมลงในน้ำอัดลม
- การทดสอบฤทธิ์กัดกร่อนของน้ำอัดลมโดยวิธีการนำตะปูที่ขึ้นสนิมใส่ลงในน้ำอัดลม
- ครูและนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ผลการทดลอง
ใช้
-  นักเรียนแต่ละคนบันทึกและสรุปผลการทดลอง

อังคาร(2 ชั่วโมง)
ชง
- ครูทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมา
เชื่อม
ครูและนักเรียนอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการทดลองคุณสมบัติของน้ำอัดลม
ใช้
- นักเรียนแต่ละคนสรุปผลการทดลองในรูปแบบที่น่าสนใจ (ชาร์ต ,ภาพวาด ,นิทานช่อง)
ศุกร์(2 ชั่วโมง)
ชง
ครูทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมา
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาอภิปรายแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับส่วนประกอบและคุณสมบัติของน้ำอัดลม
ใช้
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอชิ้นงานเกี่ยวกับส่วนประกอบและคุณสมบัติของน้ำอัดลมให้ครูและเพื่อนรับฟัง
- ก่อนการสรุปความรู้รายสัปดาห์ ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด เช่น
1.นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้และเรียนรู้อย่างไร
2.ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้มีอะไรบ้าง
3.นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
4.นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
5.นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
6.นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์ต่อไป
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ตามเครื่องมือที่ต้องการ      ( Mind Mapping, เขียนบรรยาย ,นิทาน,การ์ตูนช่องฯลฯ)
ชิ้นงาน
- ชาร์ตความรู้การทดสอบน้ำอัดลมในวิธีการต่างๆ
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
 ภาระงาน
- พูดคุยสนทนาวิเคราะห์ผลการทดสอบน้ำอัดลมในวิธีการต่างๆ
 - ทบทวนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้
- ครูและนักเรียนสนทนาอภิปรายแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับส่วนประกอบและคุณสมบัติของน้ำอัดลม
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายส่วนประกอบและคุณสมบัติของน้ำอัดลม(การกัดกร่อน  ก๊าซ  การตกตะกอนได้)
ทักษะ:
ทักษะชีวิต
 -  สร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
- มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงานได้
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทำงาน
ทักษะการจัดการข้อมูล
- มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลายเช่น จากผู้รู้  Internet
-นำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะการสื่อสาร
-แสดงความคิดเห็นและการนำเสนอผลงานจากเรื่องเกี่ยวกับการทดสอบฤทธิ์กัดกร่อนของน้ำอัดลมที่ศึกษาค้นคว้าและชิ้นงานที่ลงมือปฏิบัติ
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ยอมรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายและแตกต่าง ของเพื่อนๆในกลุ่มและเพื่อนร่วมชั้นเรียน
คุณลักษณะ:
-  เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
-  มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อครอบครัว  ชุมชน  และสังคม
- รับผิดชอบในการทำงานและส่งงานตรงตามเวลาที่กำหนด
 - เคารพตนเอง  และผู้อื่น
- มีเป้าหมายที่ดีงามต่อตนเอง

ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์



ตัวอย่างชิ้นงาน




ประมวลภาพกิจกรรม


1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ป3 ได้เรียนรู้คุณสมบัติของน้ำอัดลม(การกัดกร่อน ก๊าซ การตกตะกอน )ผ่านการทดลอง ในชั่วโมงแรกครูเปิดคลิปวิดีโอการผลิตนำอัดลมให้นักเรียนดูหลังจากดูเสร็จครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด”นักเรียนเห็นอะไร ได้เรียนรู้อะไรและจำนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร” นักเรียนแต่ละคนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคลิปวีดีโอ จากนั้นครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดต่อ”เราจะทดสอบคุณสมบัติของน้ำอัดลมได้อย่างไร”นักเรียนแบ่งกลุ่ม 4 กลุ่มทำการทดสอบคุณสมบัติของน้ำอัดลมดังนี้
    - การทดสอบก๊าซในน้ำอัดลมโดยวิธีโดยวิธีการนำเนื้อไก่ หมู ปลา มาแช่ในน้ำอัดลม
    - การทดสอบการตกตะกอนของน้ำอัดลมโดยวิธีการเติมนมลงในน้ำอัดลม
    - การทดลองการระเหยของน้ำอัดลมโดยวิธีการต้ม(น้ำโค๊ก น้ำชา นม น้ำหวานต่างๆ)
    ก่อนการทดลองครูให้นักเรียนตั้งสมมุติฐานการทดลองและให้นักเรียนแต่ละคนออกแบบบันทึกผลการทดลอง เมื่อทดลองเสร็จแล้วนักเรียนสังเกตผลการทดลองหลังจากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ผลการทดลองร่วมกัน พี่ป3: การทดสอบก๊าซในน้ำอัดลมโดยวิธีโดยวิธีการนำเนื้อไก่ หมู กระดูกหมู เล็บและเส้นผม มาแช่ในน้ำอัดลมเนื้อไก่ เนื้อหมู มีลักษณะเปื่อยๆหลุดลุ้ยและมีสีเหมือนสีน้ำอัดลมที่แช่ค่ะ/ครับ ส่วนกระดูกหมูที่แช่ในน้ำอัดลมกระดูกหมูมีสีขาวและติดสีของน้ำอัดลมเหมือนกันครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนคิดว่าทำไมเนื้อที่เราแช่ในน้ำอัดลมแต่ละสีติดสีนั้นๆและเนื้อที่เราแช่มีลักษณะเปื่อยลุ้ย พี่ป3: ในน้ำอัดลมมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซและมีสีผสมอาหารอยู่จึงทำให้ไก่ติดสีค่ะ/ครับ ส่วนมนเล็บและเส้นผมไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดต่อว่าทำไมเล็บกับเส้นผมไม่มีการเปลี่ยนแปลง พี่น้ำอ้อย พี่บาส พี่มิ้น : หนูเคยได้ยินข่าวน้ำมันรั่วลงทะเลเขาเอาเส้นผมไปซับคราบน้ำมันหนูคิดว่าเส้นผมน่าจะเป็นเส้นใยย่อยสลายได้ยากค่ะ หลังจากนั้นครูและนักเรียนร่วมสังเกตผลการทดสอบการตกตะกอนของน้ำอัดลมโดยวิธีการเติมนมลงในน้ำอัดลม พี่ป.3: สังเกตเห็นการตกตะกอนแยกชั้นของนมและน้ำอัดลมได้ชัดเจน ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดต่อนักเรียนคิดว่าเพราะเหตุใดถึงเป็นเช่นนั้น พี่น้ำมนต์ พี่น้ำอ้อย พี่มิ้น : หนูสังเกตเห็นน้ำอัดลมตกตะกอนเหมือนในการทดลองแรกเลยค่ะเมื่อเอาเนื้อลงไปในน้ำอัดลมเกิดการตกตะกอน ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดต่อพี่คิดว่าเนื้อกับนมมีลักษะเหมือนกันอย่างไร พี่ป3: เนื้อ นม ไข่ อยู่ในสารอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต หลังจากนั้นครุและนักเรียนวิเคราะห์ผลการทดลองการระเหยของน้ำอัดลมโดยวิธีการต้ม(น้ำโค๊ก น้ำชา นม น้ำหวานต่างๆ) พี่ป3: น้ำโค๊ก น้ำชา นม น้ำหวานต่างๆ ที่เราเอามาต้มทำไมมีน้ำตาลเยอะจังเลยครูที่ในห้องเขาเขียนไว้ว่า 8 กรัมแต่พอเอามาต้มทำไมมันมีเยอะจังเลย ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนคิดเห็นอย่างไรกับฉลากข้างขวด พี่ป3: ถ้าเขาบอกปริมาณน้ำตาลที่เยอะๆจะทำให้เขาขายของไม่ได้ค่ะ หลังจากนั้นครุให้นักเรียนสรุปผลการทำลงในรูปแบบที่น่าสนใจชาร์ต ,ภาพวาด ,นิทานช่อง)และนำเสนอให้ครูและเพื่อนๆฟัง ครูและนักเรียนนั่งล้อมวงเป็นวงกลมเพื่อทบทวนกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ร่วมกันนักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

    ตอบลบ